สื่อมัลติมีเดีย (Multi-Media)
Multimedia : ความหมายและนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
สื่อมัลติมีเดีย ( Multimedia ) หรือชื่อเรียกในภาษาไทยว่า “สื่อประสม” จะมีการนิยามความหมายและเรียกชื่อแตกต่างกันหลายชื่อ อาทิเช่น
1. สื่อประสม 2 หมายถึงการนาเอาสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละชนิดเป็นไปตามลาดับขั้นตอนของเนื้อหา ปัจจุบันมีการนาเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการผลิตหรือควบคุมการทางานของอุปกรณ์ต่างๆในการนาเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบแบบวิดีทัศน์และเสียง
2. สื่อมัลติมีเดีย 3 หรืออาจเรียกสื่อประสม หรือสื่อหลายแบบ ซึ่งพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า หมายถึงการใช้อุปกรณ์ต่างๆเพื่อร่วมกันนาเสนอข้อมูลเป็นหลัก โดยเน้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากเทคนิคการนาเสนอ เช่น ผลลัพธ์ที่เกิดบนจอภาพคอมพิวเตอร์ หรือบนจอรับภาพในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งจะมีคาศัพท์เฉพาะอีกหลายคาที่ใช้ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียเช่น การนาเสนอข้อมูลด้วยระบบมัลติมีเดีย ( Multimedia Presentation ) คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยระบบมัลติมีเดีย (Multimedia CAI ) และคอมพิวเตอร์ระบบมัลติมีเดีย ( Multimedia Computer Systems ) หากพิจารณาการใช้จะพบว่าเป็นการนาเอา Hardware และ Software ไว้ด้วยกันส่วนที่จะเน้นส่วนไหนมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และลักษณะของการใช้
3. มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ 4 เป็นสื่อมัลติมีเดียที่เน้นการให้ผู้ใช้เป็นผู้ควบคุมการนาเสนอ เป็นผู้เลือกเส้นทางเดิน ( Navigation ) การโต้ตอบ การให้ความรู้และกิจกรรมที่มีในบทเรียน วัตถุประสงค์เพื่อการเรียนการสอนและการฝึกอบรมเป็นหลัก หรือสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนทั้งในและนอกระบบโรงเรียน การสอนโดยระบบนี้มีจุดเด่นที่การควบคุมกิจกรรมการเรียน การควบคุมเวลาเรียน และการได้มีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนที่จะส่งผลดีต่อผู้เรียนโดยเฉพาะการเรียนรายบุคคลซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ( Learner Centre )ในวงการศึกษาจะเรียกสื่อลักษณะเช่นนี้ว่ามัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนการสอน ( Interactive Multimedia Instruction : IMI )
4. ไฮเปอร์มีเดีย( Hypermedia )5 เป็นสื่อมัลติมีเดียที่มีการนาเสนอข้อมูลทั้งภาพและเสียง ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว มีการให้คาแนะนาวิธีการใช้และวิธีความคุมเส้นทางโปรแกรมผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลต่างๆได้อย่างหลากหลายรูปแบบ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเลือกใช้ข้อมูล เลือกเส้นทางเดินเพื่อการศึกษาและการสืบค้นได้ตามความต้องการ กล่าวได้ว่าสื่อไฮเปอร์มีเดีย
จะมีประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนได้ปรับโครงสร้างความคิด ความจา ช่วยกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในสาระต่างๆมากขึ้น
5. ไฮเปอร์เท็กซ์ ( Hypertext )6 เป็นรูปแบบการนาเสนอข้อมูลทั้งที่เป็นข้อความ รูปภาพและเสียง โดยใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน เมื่อต้องการสืบค้นข้อมูลผู้ใช้เพียงกาหนดหัวข้อที่ต้องการก็จะทราบข้อมูลนั้นๆในเวลาอันรวดเร็ว
สื่อประเภทต่างๆที่กล่าวในเบื้องต้นนั้น ต่างก็เป็นสื่อประสมระบบสื่อปฏิสัมพันธ์ที่นาเสนอทั้งภาพและเสียงรวมทั้งข้อมูลต่างๆเพื่อประโยชน์ต่อการเรียนการสอนทั้งสิ้น ทั้งนี้การเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไปย่อมขึ้นอยู่กับจุดประสงค์หลักของการใช้เป็นประการสาคัญแต่ยังคงคุณลักษณะของสื่อมัลติมีเดียที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการศึกษาโดยรวม

ภาพที่ 1. ระบบมัลติมีเดียในรูปแบบสื่อไฮเปอร์มีเดีย ( Hypermedia )
ลักษณะของสื่อมัลติมีเดีย
สื่อมัลติมีเดีย ( Multimedia ) หรือสื่อประสมตามที่ศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีและสื่อสารทางการศึกษา (Educational technology and Communications ) ได้ถูกแบ่งหรือกาหนดออกเป็น 2 ลักษณะหรือ 2 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้
สื่อมัลติมีเดียลักษณะที่ 1. : สื่อมัลติมีเดียเชิงพื้นฐาน ( Basic Multimedia )
เป็นสื่อประสมเชิงพื้นฐานที่มีการนาเอาสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันในการเรียนการสอน เช่น การนาเอาวิดีทัศน์ ( Video ) มาประกอบการบรรยายของครูผู้สอน โดยมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย หรือการสอนด้วยสื่อประสมในรูปแบบชุดการสอน ( Instructional Package ) หรืออาจเป็นการจัดชุดสื่อประสมแบบห้องเรียนสื่อประสมที่เป็นห้องที่ประกอบไปด้วยวัสดุอุปกรณ์หลายชนิดไว้ด้วยกันเพื่อสะดวกในการใช้ ภายในห้องเรียนสื่อประสมจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลายอย่างเช่น เครื่องฉายแผ่นใส เครื่องฉายสไลด์ เครื่องคอมพิวเตอร์ครบชุด เครื่องเล่น VCD/DVD พร้อมลาโพง นอกจากห้องเรียนสื่อประสมแล้วยังมีการจัดเป็นชุดสื่อประสมแบบเคลื่อนที่เพื่ออานวยความสะดวกต่อผู้สอนในการเคลื่อนย้ายชุดอุปกรณ์ไปสอนในห้องต่างๆซึ่งอาจออกแบบเป็นรถเข็นขนาดเล็กที่สามารถบรรจุชุดอุปกรณ์ได้หลากหลายประเภทเหล่านี้เป็นต้น ซึ่งการใช้สื่อประสมในลักษณะที่กล่าวมานี้ ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน แต่จะเป็นการสอนในลักษณะของการใช้สื่อหลายทางหรือใช้สื่อหลายรูปแบบเพื่อการสอนในแต่ละครั้งเป็นหลักการสำคัญ
สื่อประสมลักษณะที่ 2. : สื่อมัลติมีเดียเชิงโต้ตอบ ( Interactive Multimedia )
สื่อมัลติมีเดียเชิงโต้ตอบเป็นสื่อประสมที่มีการใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักในการนาเสนอสารสนเทศรูปแบบต่างๆทั้งตัวอักษร รูปภาพทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบ ทั้งนี้ลักษณะของการใช้คอมพิวเตอร์จะกระทาใน 3 ลักษณะดังนี้คือ
1. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการนาเสนอสารสนเทศ โดยการควบคุอุปกรณ์ร่วมต่างๆในการทางาน เช่น การนาเสนอในรูปแบบวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ ( Interactive Video ) การควบคุมการนาเสนอสไลด์มัลติวิชั่น ( Slide Multi-vision ) และการควบคุมระบบการทางานของอุปกรณ์ต่างๆในสถานีงานสื่อประสม ( Multimedia Workstation ) เป็นต้น
2. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการผลิตแฟ้มสื่อประสม มัลติมีเดียในลักษณะนี้เป็นการใช้โปรแกรมสาเร็จรูปต่างๆเช่น Tool Book , Author Ware และนาเสนอแฟ้มบทเรียนที่ผลิตขึ้นแล้วให้กับผู้เรียน โปรแกรมสาเร็จรูปเหล่านี้จะช่วยในการผลิตแฟ้มบทเรียน การฝึกอบรม หรือการนาเสนองานในลักษณะสื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) โดยแต่ละบทเรียนจะมีเนื้อหาในลักษณะตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว หรือภาพวีดิทัศน์รวมอยู่ในแฟ้มเดียวกัน บางครั้งบทเรียนเหล่านี้อาจมีชื่อเรียกว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( Computer Assisted Instruction : CAI ) นั่นเอง
3. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อเครือข่ายในลักษณะ e-Learning สื่อมัลติมีเดียประเภทนี้เป็นลักษณะการนาเอาสื่อ ICT มาใช้ทั้งในรูปแบบ Internet หรือ Intranet และเครือข่ายเฉพาะที่ ( Local Area Network : LAN ) ซึ่งสามารถดาเนินการได้ในหลายรูปแบบทั้งลักษณะของการสอนผ่านเว็บ ( Web Based Instruction : WBI ) หรือการสอนแบบห้องเรียนเสมือน ( Virtual Classroom ) เป็นต้น
ในขณะเดียวกันกับการกล่าวถึงลักษณะหรือรูปแบบของระบบสื่อมัลติมีเดียที่กล่าวถึงในเบื้องต้นแล้วนั้น นีโอ และ นีโอ ( Neo and Neo ) 8 แห่งมหาวิทยาลัยไซเบอร์-มัลติมีเดีย ประเทศมาเลย์เซีย( Malaysia ) ยังได้กล่าวเกี่ยวกับระบบสื่อมัลติมีเดียไว้อย่างน่าสนใจว่า ระบบสื่อประสมหรือระบบสื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ ( Interactive Multimedia Contents ) เกิดจากกระบวนการผสมผสานกันของเนื้อหาบทเรียนของครู ( Teacher’s Educational Content ) กับเทคโนโลยีและมัลติมีเดีย( Technology & Multimedia ) ซึ่งสื่อระบบมัลติมีเดียที่สามารถส่งต่อไปยังผู้เรียนได้ใน 3 รูปแบบคือ
รูปแบบที่ 1. มัลติมีเดียแบบครูเป็นศูนย์กลาง ( Teacher-Center Mode ) รูปแบบนี้ครูจะเป็นผู้ควบคุมข้อมูลเนื้อหาที่นักเรียนจะได้รับ รวมทั้งปริมาณข้อมูลที่เผยแพร่ไปยังนักเรียน รูปแบบนี้ประกอบด้วยการนาเสนอ ( Presentation ) และการสาธิต ( Demonstration ) ข้อมูลโดยนักเรียนสามารถจดจาและระลึกข้อมูลด้วยการฝึกฝนและปฏิบัติ ( Drill and Practice ) รวมทั้งการสอนเนื้อหา ( Tutorial ) ด้วยปฏิสัมพันธ์ขั้นสูง โปรแกรมจะบรรจุลงใน CD-ROM และส่งไปยังผู้เรียน และผู้เรียนจะเปิดโปรแกรมและปฏิบัติตามครูบรรยายในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเขาเอง
รูปแบบที่ 2. มัลติมีเดียแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ( Student-Center Mode ) รูปแบบนี้ผู้เรียนจะเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตัวเขาเองและนาประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงไปสู่กระบวนการเรียนรู้โดยที่ครูจะทาหน้าที่เป็นผู้อานวยความสะดวก ( Facilitator ) โปรแกรมมัลติมีเดียสามารถบรรจุลงในแผ่นผ่านBrowser ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน นักเรียนจะมีอิสระในการเรียนตามเวลาและอัตราความก้าวหน้าของตนเอง รูปแบบนี้จึงยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยสื่อมัลติมีเดียหรือสื่อประสมจะถูกใช้ประโยชน์ในลักษณะของการเรียนแบบเชิงรุก ( Active Learning ) ในการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning ) รูปแบบนี้จะสนับสนุนการเรียนรู้ระดับสูง เพิ่มระดับความเข้าใจและความจามุ่งไปที่การพัฒนา Self Accessed และ Self-directed Learning ของผู้เรียน
รูปแบบที่ 3. มัลติมีเดียแบบผสมผสาน ( Hybrid Mode ) รูปแบบนี้ครูจะมีความยืดหยุ่นในการมีส่วนร่วมทั้งวิธีการสอนโดยครู และให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูมีบทบาทในส่วนที่จะเพิ่มหรือพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน สื่อมัลติมีเดียรูปแบบนี้สามรรถส่งผ่านเนื้อหาผ่านระบบการสื่อสารดาวเทียมหรือเทคโนโลยีการศึกษาแบบทางไกล ( Distance ) ปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนจะเป็นรูปแบบReal-time กับครูผ่านทางระบบ Video Conferencing
รูปแบบของระบบการเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดีย ตามแนวคิดที่ นีโอ และ นีโอ นาเสนอไว้ในเบื้องต้นนั้นสามารถแสดงให้เห็นดังภาพต่อไปนี้
ภาพที่ 2. ระบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน

คุณประโยชน์ของสื่อมัลติมีเดียต่อการเรียนการสอน
สื่อมัลติมีเดีย ( Multimedia ) หรือสื่อประสมจะมีบทบาทและจะเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้และการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพในประเด็นสาคัญดังต่อไปนี้กล่าวคือ 9
1. เนื้อหาบทเรียนในรูปแบบสื่อมัลติมีเดียหรือสื่อประสมจะช่วยในการสื่อสารความรู้จากผู้สอนหรือจากแหล่ง ส่งไปยังผู้เรียนได้อย่างกระจ่างชัดกว่าบทเรียนจากเนื้อหาธรรมดา
2. เอื้อต่อการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้เนื่องจากผู้เรียนสามารถเลือกหรือกาหนด
3. สามารถใช้กับการเรียนในทุกรูปแบบและทุกสภาวการณ์ เนื่องจากการใช้สื่อประสมสามารถใช้ได้หลากหลายวิธีการเพื่อจัดการเรียนการสอนที่ดีที่สุดแก่ผู้เรียน
4. กระตุ้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบกับบทเรียน ทาให้เป็นการเรียนรู้แบบกระฉับกระเฉง ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาข้อมูลความรู้หลากหลายรูปแบบ
5. เสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เชิงทดลอง และแบบ story line
6. สร้างการทางานในลักษณะของโครงงานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียน
7. สนับสนุนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
8. เหมาะสาหรับการเรียนรายบุคคล ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้ไม่ว่าผู้เรียนจะเรียนได้เร็วหรือช้า ไม่ต้องคอยกัน
9. เหมาะอย่างยิ่งในการสร้างเนื้อหาบทเรียนในการศึกษาทางไกล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถรับข้อมูลได้ทุกรูปแบบ
เนื่องจากยุคปัจจุบัน สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน ซึ่งหมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอนโดยผู้ออกแบบหรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรมได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่างๆเช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วิดีทัศน์และข้อความเข้าไปเป็นองค์ประกอบในการสื่อสารและการให้ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนจะเป็นการช่วยเสริมการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนให้มีคุณค่า ด้วยเหตุผลสาคัญดังต่อไปนี้ 10
1. เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมีเดียช่วยในการออกแบบที่ตอบสนองต่อแนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้มากขึ้น รวมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากผลการวิจัยที่ผ่านมาสรุปได้ว่าประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
2. สื่อมัลติมีเดียสามารถเก็บไว้ได้ในหลายรูปแบบเช่น Hard-disk , USB , CD-ROM ซึ่งใช้ง่ายเก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวก ทาสาเนาได้ง่าย
3. เป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามศักยภาพตามความต้องการและความสะดวกของตนเอง
4. ปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน ( Authoring Tool ) ที่ง่ายต่อการใช้งาน บุคคลทั่วไปสามารถสร้างบทเรียนจากสื่อมัลติมีเดียใช้เองได้
5. ผู้สอนสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียสอนเนื้อหาใหม่เพื่อการฝึกฝน เสนอสถานการณ์จาลอง สอนการคิดแก้ปัญหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนาไปใช้เป็นประการสาคัญ
6. สื่อมัลติมีเดียช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนที่ไม่จากัดอยู่เฉพาะแต่เพียงในห้องเรียนเท่านั้น ผู้เรียนอาจเรียนอยู่กับบ้าน ห้องสมุด หรือสภาพแวดล้อมอื่นๆตามเวลาที่ตนเองต้องการ
7. สื่อมัลติมีเดียสนับสนุนให้สามารถใช้สื่อกับผู้เรียนได้ทุกระดับอายุและความรู้ หลักสาคัญอยู่ที่การออกแบบให้เหมาะสมกับผู้เรียนเท่านั้น
8. สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพนอกจากจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนของโรงเรียนหรือหน่วยงานแล้ว ความก้าวหน้าของของระบบเครือข่ายยังช่วยเสริมให้การใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่นอีกด้วย
ที่กล่าวมาทั้งหมดในเบื้องต้น คงเป็นหลักประกันได้ในประสิทธิภาพและคุณประโยชน์ของสื่อประสม หรือสื่อมัลติมีเดียที่นาไปใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี ซึ่งคุณประโยชน์ที่เกิดขึ้นนั้นคงต้องมีระบบของการวางแผนการใช้สื่อมัลติมีเดียอย่างเป็นระบบ โดยวิเคราะห์ในรายละเอียดของการปรับให้อย่างลุ่มลึกและรอบด้านให้เหมาะสมกับบริบท ( Context ) ขององค์กรที่มีต่อการใช้สื่อการศึกษาดังกล่าว
กระบวนการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเชิงระบบ
สื่อประสมหรือระบบสื่อมัลติมีเดีย ( Multimedia ) จะเป็นสื่อที่ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมาอย่างเป็นระบบขั้นตอน ทั้งนี้เพื่อสร้างเป็นสื่อต้นแบบ ( Prototype )ที่จะนาไปสู่การนาไปใช้และเผยแพร่ให้กับผู้ใช้หรือผู้เรียนกลุ่มอื่นๆอีกต่อไป ดังนั้นกระบวนการสร้างและพัฒนาสื่อเชิงระบบจึงเป็นสิ่งสาคัญที่ควรตระหนักและให้ความสาคัญ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์การใช้สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ร็อบบลายเยอร์ และ โดว์ริ่ง ( Roblyer and Doering ) 11 แห่งมหาวิทยาลัยรัฐเทนเนสซี,แช็ตตานูกา และ มหาวิทยาลัยรัฐมินเนโซต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึงกระบวนการสร้างและพัฒนาสื่อมัลติมีเดียที่มี
ประสิทธิภาพนั้น จะประกอบไปด้วยขั้นตอนสาคัญดังต่อไปนี้
1. การทบทวน ตรวจสอบผลผลิตที่เกี่ยวข้องกับสื่อ ( Review Existing Products ) เป็นการสารวจข้อมูลหรือเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับสื่อที่จะผลิต รวมทั้งสื่อประกอบอื่นๆที่จะเข้ามาเป็นตัวช่วยเสริมในการผลิตสื่อนั้นๆ
2. วิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวกับเรื่อง/หัวข้อที่จะผลิต ( Perform Research Background on the Topic ) เป็นการศึกษาและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทาให้รอบคอบและรัดกุม เพื่อให้เกิดความชัดเจนถูกต้องต่อการผลิตสื่อมัลติมีเดียนั้นเป็นลักษณะการกาหนดรายละเอียดเชิงเนื้อหา
3. จัดระบบและวางลาดับขั้นตอนการผลิต ( Storyboard each Frame / Segment ) รายละเอียดของเนื้อหาสื่อมัลติมีเดียจากขั้นตอนที่ผ่านมาจะถูกกาหนดเป็นระบบขั้นตอนของกระบวนการผลิต โดยจัดทาในรูปแบบการเขียนลาดับการสร้างหรือบท ( Storyboard /Script ) ซึ่งจะเป็นสิ่งอานวยความสะดวกต่อผู้ผลิต และสามารถผลิตได้ถูกต้องสมบูรณ์จากบทหรือการจัดวางลาดับที่จัดกระทาไว้
4. สร้างและพัฒนาสื่อในแต่ละตอนให้เกิดความสมบูรณ์ ( Develop Individual Frames and Segments )ในการผลิตสื่อมัลติมีเดียจากโปรแกรมที่กาหนดไว้นั้น ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระในแต่ละตอนทั้งที่เป็นรูปภาพ เสียง ภาพจาลอง ( Animation ) ภาพเคลื่อนไหวหรือวีดิทัศน์ แล้วนาไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเพื่อนามาปรับปรุงต่อไป
5. ทาการทดสอบหรือเชื่อมโยงการใช้โปรแกรมที่ผลิตร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง ( Add Link Parts Together )โดยทาการทดสอบการเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของสื่อมัลติมีเดียที่ผลิตขึ้นนั้น ร่วมกันกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในองค์กร เพื่อทาการทดสอบประสิทธิภาพในด้านภาพและเสียง หรือเทคนิคพิเศษต่างๆที่ผลิตขึ้นเพื่อให้เกิดความแน่ใจและมั่นใจต่อการนาไปใช้จริง
6. การทดสอบและปรับปรุงขั้นสุดท้ายก่อนขยายผลการใช้จริง ( Test and Revised the Product ) สื่อมัลติมีเดียที่ผ่านกระบวนการทั้งหมดมาเรียบร้อยแล้ว ต้องทาการตรวจสอบขั้นสุดท้ายเพื่อนาไปใช้จริงในสถานการณ์ทางการเรียนรู้ต่อไป กระบวนการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียที่กล่าวมาแสดงให้เห็นจากภาพต่อไปนี้
ภาพที่ 3. กระบวนการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเชิงระบบ

บทส่งท้าย
ระบบสื่อมัลติมีเดีย ( Multimedia Systems ) ที่เป็นทั้งระบบสื่อประสมเชิงพื้นฐานที่เน้นการใช้สื่อประเภทแอนาล็อก ( Analog ) เช่น สิ่งพิมพ์ เครื่องเสียง เครื่องฉาย ฯลฯ หรือระบบสื่อประสมประเภทใช้สื่อดิจิทัล ( Digital ) โดยเน้นคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลักสาคัญในการใช้นั้น ต่างก็เป็นสื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ที่นับวันจะมีบทบาทสาคัญค่อนข้างสูงในการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกๆระดับ ซึ่งทั้งผู้เรียนและผู้สอนต่างให้ความสาคัญต่อการนามาปรับใช้ และนาไปประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน จึงเป็นประเด็นสาคัญที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักและสนใจ ร่วมกาหนดเป็นยุทธศาสตร์ของการปรับใช้และพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อนาไปใช้ในองค์การและสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น